บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018
วิธีการในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์(Methods of teaching mathematics)         รำเพย สุทธินนท์   (2557) ได้รวบรวมวิธีการสอนไว้ดังนี้                       วิธีสอนคณิตศาสตร์   ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีสอนตามปกติ   ได้แก่   1) วิธีสอนแบบวรรณี 2) วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง 3) วิธีสอนซ่อมเสริมโดยใช้ชุดการสอน   บทเรียนโปรแกรม 4) วิธีสอนซ่อมเสริมโดยใช้เกมประกอบการสอน 5) วิธีสอนรายบุคคล 6) รูปแบบการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์   7) รูปแบบการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เน้นการคิดแบบอเนกนัย   8) รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้   9) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษาของนักเรียน   10) รูปแบบการสอนที่เน้นเทคนิควิธีการคิดทางคณิตศาสตร์        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  (2540)   ได้รวบรวมวิธีการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. วิธีสอนแบบเวทคณิต ( Vedic Mathematics) 2. วิธีสอนแบบวรรณี 3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง 4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 5. วิธีสอ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)     ลักขณา   สริวัฒน์   (2557 : 193-206 )   ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperrative Learning  Theory ) ไว้ดังนี้                  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperrative Learning  Theory)  การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นให้ครูใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ สำหรับเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำแนกเป็น  8  เรื่อง ได้แก่ ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือในการสอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้                 1.  ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ   มีนักการศึกษาต่างประเทศหลายท่านที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความห
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน(Constructionism) สยุมพร(2012) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน( Constructionism)     แนวคิดของทฤษฏีนี้ คือ   การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง   หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม   จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น     หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ   ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน   ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน   เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ   ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถใช้วิธีการที่หลากหลาย   เช่น   การประเมินตนเอง   การประเมินโดยครูและเพื่อน   การสังเกต   การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน ลักขณา   สริวัฒน์ ( 2557: 188-192)   ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน ( Constructionism)  ทฤษฎีนี้พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง(Constructivism) สยุมพร(2012) ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง( Constructivism)    เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์   รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล   นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว   ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย   การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป   หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้( process of knowledge construction)      เป้าหมายของการสอนจะเปลี่ยนจากการถ่ายทอดให้ผู้เรียนได้รับสาระความรู้ที่แน่นอนตายตัว    ไปสู่การสาธิตกระบวนการแปลและสร้างความหมายที่หลากหลาย   ผู้เรียนจะต้องเป็นผู้จัดกระทำกับข้อมูลหรือประสบการณ์ต่างๆ   และจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งนั้นด้วยตนเอง   โดยการให้ผู้เรียนอยู่ในบริบทจริง   ในการจัดการเรียนการสอนครูจะต้องพยายามสร้างบรรยากาศทางสังคมจริยธรรมให้เกิดขึ้น   ผู้เ
ทฤษฎีพหุปัญญา(Theory of Multiple Intelligences) สยุมพร(2012) ได้กล่าวถึงทฤษฎีพหุปัญญา  (Theory of Multiple Intelligences)    ทฤษฏีนี้มีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ   2  ประการ คือ   1.   เชาวน์ปัญญาของบุคคลมิได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น   แต่มีอยู่อย่างหลากหลายถึง 8 ประเภทด้วยกัน   ประกอบด้วย      -    เชาวน์ปัญญาด้านภาษา( Linguistic intelligence)  -    เชาวน์ปัญญาด้านคณิตศาสตร์หรือการใช้เหตุผลเชิงตรรกะ( Logical mathematical intelligence)    -    สติปัญญาด้านมิติสัมพันธ์( Spatial intelligence)   -    เชาวน์ปัญญาด้านดนตรี( Musical intelligence)  -    เชาวน์ปัญญาด้านการเคลื่อนไหวร่างกายและกล้ามเนื้อ( Bodily kinesthetic intelligence)  -    เชาวน์ปัญญาด้านความสัมพันธ์กับผู้อื่น( Interpersonal intelligence)  -    เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจตนเอง( Intrapersonal intelligence)  -    เชาวน์ปัญญาด้านความเข้าใจธรรมชาติ( Naturalist intelligence)   เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้   คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น   และมีความสามาร