บทความ

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ความหมายของ"นวัตกรรมการศึกษา"   “ นวัตกรรม ” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย  “ นวัตกรรม ” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ” การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ( Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส ( Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม ” “ นวัตกรรมทางการศึกษา ” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหว
 วิธีการ การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) ความหมายการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) ได้รับการพัฒนาขึ้น ที่มหาวิทยาลัยจอห์น ฮอบกินส์ ( John Hopkins University) ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีนักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงความหมายของการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) ดังนี้ วัฒนาพร ระงับทุกข์ ( 2545, หน้า 182–184) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) ว่าเป็นกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนมากกว่าการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มเหมาะสำหรับการสอนคณิตศาสตร์ การจัดกลุ่มคล้ายกับเทคนิค STAD และ TGT แต่ในเทคนิคนี้ผู้เรียนแต่ละคนจะเรียนรู้และทำงานตามระดับความสามารถของตน เมื่อทำงานในส่วนของตนเสร็จแล้วจึงไปจับคู่หรือเข้ากลุ่มทำงาน สิริพร ทิพย์คง ( 2545, หน้า 170–171) กล่าวถึงการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคกลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนเป็นรายบุคคล ( TAI) ว่าเป็นการจัดกิจกรรมที่ใช้กับการเรียนการสอน
วิธีการในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์(Methods of teaching mathematics)         รำเพย สุทธินนท์   (2557) ได้รวบรวมวิธีการสอนไว้ดังนี้                       วิธีสอนคณิตศาสตร์   ที่ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าวิธีสอนตามปกติ   ได้แก่   1) วิธีสอนแบบวรรณี 2) วิธีสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง 3) วิธีสอนซ่อมเสริมโดยใช้ชุดการสอน   บทเรียนโปรแกรม 4) วิธีสอนซ่อมเสริมโดยใช้เกมประกอบการสอน 5) วิธีสอนรายบุคคล 6) รูปแบบการเรียนการสอนที่ทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอนคณิตศาสตร์   7) รูปแบบการสอนแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่เน้นการคิดแบบอเนกนัย   8) รูปแบบการสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้   9) รูปแบบการสอนคณิตศาสตร์ที่เน้นประสบการณ์ทางภาษาของนักเรียน   10) รูปแบบการสอนที่เน้นเทคนิควิธีการคิดทางคณิตศาสตร์        สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ  (2540)   ได้รวบรวมวิธีการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. วิธีสอนแบบเวทคณิต ( Vedic Mathematics) 2. วิธีสอนแบบวรรณี 3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง 4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 5. วิธีสอ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ(Theory of Cooperative or Collaborative Learning)     ลักขณา   สริวัฒน์   (2557 : 193-206 )   ได้กล่าวถึงทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperrative Learning  Theory ) ไว้ดังนี้                  ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperrative Learning  Theory)  การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่เน้นให้ครูใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีรูปแบบการสอนให้เลือกอย่างหลากหลายตามวัตถุประสงค์ของการจัดการเรียนรู้ในกลุ่มสาระต่างๆ สำหรับเนื้อหาและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำแนกเป็น  8  เรื่อง ได้แก่ ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ ขั้นตอนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการประยุกต์ใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือในการสอน ดังรายละเอียดต่อไปนี้                 1.  ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ   มีนักการศึกษาต่างประเทศหลายท่านที่ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับความห